วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การโคลนนิ่งเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก โดยใช้เทคนิคเดียวกับการโคลนนิ่งแกะ"ดอลลี"  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรกของโลก ที่เกิดจากการโคลนนิ่งเมื่อปี 1996 ที่ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการใช้สเต็มเซลล์จากแหล่งอื่นๆอาจง่ายกว่า ถูกกว่า และสร้างข้อถกเถียงน้อยกว่าวิธีการเช่นนี้  ส่วนฝ่ายที่คัดค้านกล่าวว่า การทำการสเต็มเซลล์เป็นหนึ่งในความหวังครั้งยิ่งใหญ่ของวงการแพทย์ ความสามารถในการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ได้อาจนำไปช่วยรักษาความเสียหายจากอาการหัวใจวาย หรือใช้ซ่อมแซมเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีการทดลองนำสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนที่มีผู้บริจาค เพื่อใช้ในการรักษาการมองเห็นของผู้ป่วย อย่างไรก็ดี พบว่าเซลล์ดังกล่าวไม่สามารถเข้ากับร่างกายของผู้ป่วยได้   นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย โอเรกอน เฮลธ์ แอนด์ ไซแอนซ์ ยูนิเวอร์ซิตี้  เปิดเผยความสำเร็จในการโคลนนิ่งเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก จากการพัฒนาตัวอ่อนให้เข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ หรือระยะก่อนที่จะฝังตัวกับมดลูก  หรือราว 150 เซลล์ ที่มากพอที่จะใช้เป็นแหล่งสเต็มเซลล์ที่ได้จากตัวอ่อนระยะแรกๆ  นายแพทย์ชูกราต มาตาลิพอฟ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแห่งชาติโอเรกอน เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์สเต็มเซลล์ที่ได้จากวิธีการดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน พบว่าสเต็มเซลล์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์หลายประเภทเช่นเดียวกับสเต็มเซลล์ที่ได้จากตัวอ่อนตามธรรมชาติอาทิเซลล์ประสาท เซลล์ตับ และเซลล์หัวใจ อย่างไรก็ดี วิธีการดังกล่าวยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก เพื่อให้ได้สเต็มเซลล์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ by; คาสิโนออนไลน์